หลายคนอาจจะเคยเห็นสัญลักษณ์มือแบบนี้ 🤙 ของเหล่าดาราดัง หรือนักเซิร์ฟดัง ๆ รวมถึงนักกีฬาสเก็ตบอร์ดที่ชอบใช้เวลาถ่ายรูป หรือทักทายกันอยู่บ่อย ๆ “ได้เลย” “ขอบคุณ” “เยี่ยมมาก” “ใจเย็นๆ”
🌊สัญลักษณ์มือนี้เรียกว่า “𝙎𝙝𝙖𝙠𝙖” หรือ “𝙃𝙖𝙣𝙜 𝙇𝙤𝙤𝙨𝙚” ออกเสียงในภาษาไทยว่า “ชาก้า” ถือกำเนิดจากชาวเกาะฮาวายที่ชื่อว่า “𝙃𝙖𝙢𝙖𝙣𝙖 𝙆𝙖𝙡𝙞𝙡𝙞” ซึ่งถือเป็น “𝙁𝙖𝙩𝙝𝙚𝙧 𝙤𝙛 𝙎𝙝𝙖𝙠𝙖 𝙎𝙞𝙜𝙣” เหตุที่สัญลักษณ์ “𝙎𝙝𝙖𝙠𝙖” 𝙎𝙞𝙜𝙣 🤙 มีเพียง 2 นิ้วนั้นก็เป็นเพราะ 𝙃𝙖𝙢𝙖𝙣𝙖 𝙆𝙖𝙡𝙞𝙡𝙞 นั้นเสียนิ้ว 3 นิ้วไปในระหว่างที่ทำงานที่โรงงานน้ำตาล ตั้งแต่นั้นการ “𝙒𝙖𝙫𝙚” หรือการทักทายของ 𝙃𝙖𝙢𝙖𝙣𝙖 ก็เปลี่ยนไปและกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวเขาตั้งแต่นั้นมา
🌊หลังจากที่เสียนิ้วไปเจ้าของโรงงานน้ำตาลได้เสนองานให้เขาคือการเฝ้าดูเด็กๆไม่ให้แอบกระโดดขึ้นรถไฟที่กำลังชะลอตัวเวลาเทียบชานชะลาเพื่อเข้าออก 𝙆𝙖𝙝𝙖𝙠𝙪 (ตั้งอยู่ใน 𝙃𝙤𝙣𝙤𝙡𝙪𝙡𝙪, 𝙃𝙖𝙬𝙖𝙞𝙞) เขามักจะตะโกนหรือ “𝙒𝙖𝙫𝙚” ใส่เด็กๆลงมาจากรถไฟเสมอๆ ภายหลังเด็กๆใช้สัญลักษณ์นี้ในการบอกเพื่อนๆเวลาที่ 𝙃𝙖𝙢𝙖𝙣𝙖 ไม่อยู่ด้วยการทำสัญลักษณ์ประจำตัวเขาก็คือการ 𝙒𝙖𝙫𝙚 ด้วยนิ้วเพียง 2 นิ้วหรือสัญลักษณ์ “𝙎𝙝𝙖𝙠𝙖” ให้กันซึ่งก็สื่อถึงตัว 𝙃𝙖𝙢𝙖𝙣𝙖 นั่นเองว่า “𝘼𝙡𝙡 𝙘𝙡𝙚𝙖𝙧” หรือ “ทางสะดวก” พวกเราไปกันได้!
เมื่อการชูนิ้วก้อยและนิ้วโป้งเป็นสัญลักษณ์ก็เลยต้องทำให้เราต้องพับนิ้ว 3 นิ้วลงมา และก็กลายเป็นวิธีการทำ 𝙎𝙝𝙖𝙠𝙖 𝙎𝙞𝙜𝙣 ที่เรานำกันมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
🌊𝙎𝙝𝙖𝙠𝙖 𝙎𝙞𝙜𝙣 ที่เป็นนิยมและรู้จักแพร่หลายนั้นส่วนนึงมาจากนักการเมืองท้องถิ่นที่ชื่อ “𝙁𝙧𝙖𝙣𝙠 𝙁𝙖𝙨𝙞” เขาใช้สัญลักษณ์ 𝙎𝙝𝙖𝙠𝙖 นี้ในการหาเสียงและทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น เขาใช้สัญลักษณ์นี้ในทุกๆ 𝙘𝙖𝙢𝙥𝙖𝙞𝙜𝙣 โฆษณาหาเสียงของเขาเองมายาวนานกว่า 22 ปี
ภายหลังต่อมาสัญลักษณ์ได้ถูกนำมาใช้ต่อกันมาแต่หลักๆคือทีใช้แสดงความเป็นมิตรต่อกัน ผู้คนเริ่มมีคนนิยมใช้กันมากขึ้น และได้แพร่หลายให้เห็นตามสื่อต่าง ๆ นั่นเอง
🌊ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเห็นนักเซิร์ฟ หรือนักสเก็ตบอร์ดที่สามารถโชว์ลีลาท่าทางต่าง ๆ ได้ดีมาก ๆ การโชว์สัญลักษณ์มือ 𝙎𝙝𝙖𝙠𝙖 ถือเป็นการให้กำลังใจ และยกย่องว่าคุณเจ๋ง ทำได้ดีมาก แถมยังมีความหมายถึงการทักทาย ขอบคุณ และการอำลาอีกด้วย
🤙วิธีการทำสัญลักษณ์ 𝙎𝙝𝙖𝙠𝙖 ก็ไม่ยาก เพียงแค่คุณชูมือขึ้นพร้อมกับกำมือ แล้วยกนิ้วโป้งและนิ้วก้อยขึ้นมา พร้อมทั้งแกว่งเบา ๆ เท่านี้ก็ทำให้เราเป็นคนมีสไตล์ในแบบชาวฮาวายแล้ว🤙 !
Source : www.hawaiianairlines.com / https://www.polynesia.com/blog/shaka